ถ้ำหมายเลข 7 ของ เลณยาทรี

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
เลณยาทรีคเณศมนเทียร
(ศรีคีรีชาตมัชมนเทียร)
ถ้ำหมายเลข 7 เลณยาทรี
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่ตั้งถ้ำเลณยาทรี
ศาสนาศาสนาฮินดู
เทพพระพิฆเนศ "คีรีชาตมัช" (Girijatmaja; गिरीजात्मज)
เทศกาลคเณศจตุรถี และ คเณศชยันตี
ตำบลอำเภอปูเน
รัฐรัฐมหาราษฏระ
ประเทศประเทศอินเดีย
รูปแบบสถาปัตยกรรมถ้ำวิหารแบบพุทธ
ปีที่เสร็จวิหาร: คริสต์ศตวรรษที่ 1
การแปลงเป็นมนเทียร: ไม่ทราบ

สถาปัตยกรรม

คเณศมนเทียรตั้งอยู่ในถ้ำหมายเลข 7 ซึ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาการเจาะถ้ำรอบ ๆ ชุนนร (Junnar) ตั้งอยู่ที่ความสูงประมาณ 100 ฟุต (30 เมตร) จากพื้นดิน ดั้งเดิมแล้วที่นี่เป็นวิหารในศาสนาพุทธ ที่ซึ่งสงฆ์ใช้อยู่อาศัยและทำสมาธิ โถงมีความยาวราม 17.37 เมตร (57.0 ฟุต) กว้าง 15.54 เมตร (51.0 ฟุต) และสูง 3.38 เมตร (11.1 ฟุต) มีหน้าต่างอยู่ 2 บาน บานละข้างของทางเข้า[1][3] ปัจจุบันโถงนี้ใช้เป็นสภามณฑป (sabha-mandapa - โถงรวมตัว) ของมนเทียร ("assembly hall") ทางเข้ามนเทียรเข้าถึงได้ผ่านบันได 283 ขั้น[7][8] บันไดเหล่านี้เชื่อว่าเป็นตัวแทนถึงความสุขทางราคะ ที่ซึ่งพระคเณศสามารถพ้นผ่านมาได้[9]

เทวรูป

ด้านในถ้ำหมายเลข 7ด้านในมนเทียร

พระพิฆเนศที่ประดิษฐานที่นี่เรียกว่า "คีรีชาตมัช" (สันสกฤต: गिरिजात्मज) แปลว่า "เกิด (ชาตะ) แก่ภูเขา (คีรี)" ("mountain-born")[8][10] หรือ "อาตมัชแห่งคีรีชา" ("Atmaja of Girija") พระบุตรแห่งพระปารวตี ผู้ซึ่งทรงเป็นพระธิดาของหิมวาน (Himavan) บุคลาธิสถานของเทือกเขาหิมาลัย[7][8][11] เช่นเดียวกันกับอัษฏวินายกแห่งอื่น ๆ ทั้งแปดแห่ง พระคเณศแห่งคีรีชาตมัชนั้นเชื่อว่าเป็น สวยัมภู (svayambhu) คือหินที่เกิดขึ้นเป็นรูปลักษณะของพระคเณศเองตามธรรมชาติ[12]